Hi

ติเพื่อ“ก่อ”…  ไม่ได้ติเพื่อ“กด” 

08 พฤษภาคม 2025

เรื่องโดย อาจารย์นิศา บูรณภวังค์ อาจารย์ประจำสังกัดศูนย์ภาษา วิทยาลัยดุสิตธานี

ที่มา: The Bangkok Insight (www.thebangkokinsight.com) 

——————————————————————————

ขึ้นชื่อว่า โดนตำหนิ ความรู้สึกของคนที่โดนก็เกิดความรู้สึกไม่ดีแล้วล่ะค่ะ เพราะการตำหนิผู้อื่นหรือโดนผู้อื่นตำหนิล้วนแต่เป็นการบั่นทอนจิตใจอย่างหนึ่งสำหรับใครหลาย ๆ คน จะมีใครสักกี่คนกันที่กลับชอบการถูกตำหนิ ยืดอกรับอย่างหน้าชื่นตาบาน แล้วยังสามารถนำคำตำหนิหรือคำสอนต่าง ๆ ของคนอื่นมาประยุกต์หรือปรับปรุงตนเองให้พัฒนาต่อไปได้ 

พูดกันตามจริงแล้วคงไม่มีใครชอบการตำหนิ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับการตำหนิด้วยล่ะค่ะ ว่ามันออกมาในลักษณะแบบไหน…เป็นการติเพื่อก่อหรือเป็นการติเพื่อทำร้ายจิตใจคนฟัง (ประมาณระบายอารมณ์ของตัวเองอะไรแบบนั้น) ดังนั้น การติหรือการตำหนิจึงจัดว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของผู้นำ หรือเพื่อนร่วมงานในการเลือกสรรหาวิธีการว่ากล่าวตักเตือน เพื่อรักษาสัมพันธภาพและมิตรภาพจากคนรอบข้างให้คงอยู่ต่อไป    

   วันนี้เลยขอนำเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการตำหนิมาแนะนำกันค่ะ อย่างน้อย ๆ เพื่อนของเรา ลูกน้องของเรา จะได้ไม่เกิดความรู้สึกเชิงลบกับเรา แล้วยังรู้สึกว่าคำตำหนินั้นมันมีแรงกระตุ้นให้อยากพัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้นไปอีก ประการแรกเลยค่ะ พยายามบอกให้เขารู้สึกว่าเรา “คาดหวัง” กับเขามากกว่าที่เขาทำออกมาในตอนนี้ แทนที่จะบอกว่า “ฉันผิดหวังในตัวคุณจริง ๆ นะ” ซึ่งอาจจะพูดออกมาในลักษณะแบบนี้ค่ะ 1. ตัดคำพูดเชิงลบ (Negative word) หรือทิ่มแทงความรู้สึก (Offensive word) ออกให้หมด แล้วแทนที่ด้วยคำเชิงบวกแทน 2. ใส่คำอนาคตลงไป เช่น ถ้า / คง / น่าจะ / คงจะ / ควร เช่น “ทำไมรสมันจืดแบบนี้…” ให้ลองเปลี่ยนเป็น “แกงนี้รสชาติดีนะ ถ้าเพิ่มรสเผ็ดกับเค็มอีกสักนิด จะดีขึ้นอีกระดับเลย” 3. เรียงคำใหม่ เป็น “คำอนาคต + รูปประโยคเชิงบวก” เพราะปกติในขณะที่พูด คนเราจะรับรู้อารมณ์ชัดเจนกว่าเนื้อหาที่พูด ถ้าพูดคำพูดบวก + อารมณ์ลบ เช่น “ทำข้อสอบได้ไหม” พูดด้วยอารมณ์ลบจะกลายเป็นประชดทันที (ลองพูดกับตัวเองก่อนก็ได้ค่ะ ฮ่าๆๆ)  ในทางกลับกันถ้าพูดคำพูดลบ + อารมณ์บวกจะกลายเป็นอารมณ์บวกแทน ฉะนั้นคำพูดบวกที่มาพร้อมอารมณ์บวกจะส่งพลังบวกระดับ 10 ให้ผู้ฟังกันเลยทีเดียวค่ะ 

สรุปได้ว่า การตำหนิไม่ใช่สิ่งที่ผิดเลยค่ะ หากการตำหนินั้นเป็นการหวังดีให้ผู้ถูกตำหนิปรับปรุงตนเองและใช้ศิลปะการพูดที่ไม่ทำให้เสียความรู้สึก กระซิบบอกนิดนึงว่า เนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะการพูดในงานธุรกิจ ไม่ว่าจะในงานอุตสาหกรรมบริการหรืองานแขนงอื่น วิทยาลัยดุสิตธานีของเราก็มีสอนให้กับนักศึกษาด้วยนะคะ สนใจจะมาเรียนกันไหมล่ะเออ…. 

ข่าวสารและกิจกรรม

สอบถามเพิ่มเติม

สำนักประชาสัมพันธ์

โทร: 02 721 7811–3 อีเมล: pr.pr@dtc.ac.th

ข่าวอื่น ๆ

สอบถามเพิ่มเติม

สำนักประชาสัมพันธ์

โทร: 02 721 7811–3 อีเมล: pr.pr@dtc.ac.th

คุณได้เพิ่มคอร์สเรียนแล้ว