Hi

การเดินทางของแซนด์วิช 

22 สิงหาคม 2024

เรื่องโดย อาจารย์วีร์ วงศ์สันติวนิช อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาอาหารตะวันตก วิทยาลัยดุสิตธานี 

ที่มา: The Bangkok Insight (www.thebangkokinsight.com) 

——————————————————————————

มนุษย์มีอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์หรือผักประกบหรือห่อด้วยแป้งในรูปต่างๆมายาวนานในหลายวัฒนธรรม แต่ที่เริ่มเรียกว่าแซนด์วิชเป็นครั้งแรกนั้นก็หลังจากที่ จอห์น มองตากิว (John Montagu) ผู้เป็นเอิร์ลแห่งแซนด์วิช คนที่ 4 (The 4th Earl of Sandwich) สั่งให้ลูกน้องน้ำขนมปังสองแผนประกบชิ้นเนื้อมาให้กิน เพราะตอนนั้นติดพันกับการเล่นไพ่จนปลีกตัวไปกินอาหารไม่ได้ และนั่นก็ถือเป็นการกำเนิดแซนด์วิชขึ้นในยุโรป 

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แซนด์วิชเป็นที่นิยมของคนชั้นกรรมาชีพ เพราะมันถือง่าย กินสะดวก เสียเวลาทำไม่นานมาก และราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมในการนำไปปิกนิกหรือห่อไปกินเป็นอาหารกลางวันด้วย ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีร้านแซนด์วิชเกิดขึ้น ทำให้กลายมันกลายเป็นอาหารฟาสต์ฟู้ดยุคแรกๆ ของโลก เพราะทั้งเร็ว สะดวก และราคาย่อมเยา 

เมื่อเวลาผ่านไปแซนด์วิชรูปแบบใหม่ๆ ก็เริ่มเกิดขึ้น เช่น ซับมารีนแซนด์วิช (Submarine Sandwich) ที่ใช้ขนมปังแบบแท่ง ทำให้รูปร่างของมันคล้ายกับเรือดำน้ำ รวมไปถึงไส้แซนด์วิชคลาสสิก เช่น BLT (Bacon, Lettuce, Tomato) วัตถุดิบสำหรับใช้เป็นไส้ทั้งสามอย่างนั้นเข้ากันลงตัวจนเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับคลับแซนด์วิช (Club Sandwich) ที่มีไส้เป็นเนื้อสัตว์และผักหลายอย่างจนทำออกมาให้อร่อยได้ไม่ยาก 

ทุกวันนี้ เชฟหลายคนใช้ขนมปังแบบพิเศษ เครื่องปรุงคุณภาพสูง เทคนิคการผสมผสานที่ซับซ้อนน่าตื่นตาตื่นใจในการทำแซนด์วิช บางทีคิดอะไรไม่ออกก็ใส่คาเวียร์และเอาทองคำแปลวแปะเข้าไปเสียเลย จนทุกวันนี้เราจึงสามารถเห็นแซนด์วิชแทรกตัวเข้าไปอยู่ในร้านอาหารหรูๆ ได้เช่นกัน และกลายเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ผมชอบสอนให้เด็กๆ สาขาศิลปะการประกอบอย่างมืออาชีพ วิทยาลัยดุสิตธานี ทำกันอยู่เสมอ 

เส้นทางการเดินทางจากสองร้อยปีจากของกินแก้ขัด อาหารชนชั้นกรรมมาชีพ ผ่านธุรกิจฟาสต์ฟู้ดเจ้าแรกๆ ของโลก จนสุดท้ายก็เข้าไปอยู่ในร้านอาหารระดับไฮเอนด์ได้นี้ถือว่าน่าประทับใจอยู่ ต่อไปจะมีคนเอาเนื้อสัตว์ประกบขนมปังมาทำขายเหมือนในหนังเรื่อง Buzz Lightyear หรือไม่ ก็ต้องดูกันไปครับ “สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นนน!” “To infinity and beyond!” 

บทความ

สอบถามเพิ่มเติม

สำนักประชาสัมพันธ์

โทร: 02 721 7811–3 อีเมล: pr.pr@dtc.ac.th

ข่าวอื่น ๆ

09 มกราคม 2025

สอบถามเพิ่มเติม

สำนักประชาสัมพันธ์

โทร: 02 721 7811–3 อีเมล: pr.pr@dtc.ac.th

ยินดีต้อนรับสู่วิทยาลัยดุสิตธานี​
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยได้ คลิก!

คุณได้เพิ่มคอร์สเรียนแล้ว